การให้บริการ
การให้บริการ
ทำเนียบบุคลากร
ข้อมูลพื้นฐาน อบต.
งานนโยบายและแผน
งานควบคุมภายใน
งานพัสดุ
งานบริหารบุคคล
บริการออนไลน์
อบต.ในเครือข่าย
การต่อต้านการทุจริต
ITA
รวมลิงค์ต่างๆ
สนทนาออนไลน์


  หน้าแรก     การจำนำ 

การจำนำ
การจำนำ  

 

การจำนำ
                สัญญาจำนำ คือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่า ผู้จำนำส่งมอบสังหาริมทรัพย์ให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งเป็นผู้ครองครองเรียกว่า ผู้รับจำนำเพื่อประกันการชำระหนี้ ทรัพย์สินที่จำนำได้คือ ทรัพย์สินที่สามารถเคลื่อนที่ได้เช่น วิทยุ โทรทัศน์ ช้าง ม้า โค กระบือ และเครื่องทอง รูปพรรณ สร้อย แหวน เพชรเป็นต้น
 ตัวอย่างเช่นนาย ก. กู้เงินนาย ข.จำนวน 50,000 บาท เอาแหวนเพชรหนึ่งวงมอบให้นาย ข. ยึดถือไว้เป็นประกันการชำระหนี้เรียกว่า นาย ก. เป็นผู้จำนำ และนาย ข. เป็นผู้รับจำนำ ผู้จำนำอาจเป็นบุคคลภายนอกเช่น ถ้าแทนที่นาย ก. จะเป็นผู้ส่งมอบแหวนเพชรให้กับเจ้าหนี้กลับเป็นนาย ค.ก็เรียกว่าผู้จำนำ ผู้จำนำไม่จำเป็นต้องเป็นลูกหนี้เสมอไป
 ผู้รับจำนำต้องระวัง :
           ผู้จำนำต้องเป็นเจ้าของทรัพย์ คือมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่จำนำ ใครอื่นจะเอาทรัพย์ของเขาไปจำนำหาได้ไม่เพราะฉะนั้นถ้ายักยอกยืมหรือลักทรัพย์ของเขามาหรือได้ทรัพย์ของเขามาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายประการอื่นแล้วนำไปจำนำเจ้าของอันแท้จริงก็ย่อมมีอำนาจติดตามเอาคืนได้โดยไม่ต้องเสียค่าไถ่เพราะฉะนั้น ผู้รับจำนำต้องระวังควรรับจำนำจากบุคคลที่รู้จักและเป็นเจ้าของทรัพย์เท่านั้นมิฉะนั้นอาจจะเสียเงินเปล่าๆ
 
สิทธิหน้าที่ผู้รับจำนำ :
          เมื่อรับจำนำแล้วทรัพย์สินที่จำนำก็อยู่ในความครอบครองของผู้รับจำนำตลอดไปจนกว่าผู้รับจำนำจะรับคืนไปโดยการชำระหนี้ในระหว่างนั้น
 
ผู้รับจำนำมีหน้าที่เกี่ยวกับทรัพย์สินที่จำนำบางประการ :
         1. ต้องเก็บรักษาและสงวนทรัพย์ที่จำนำให้ปลอดภัย ไม่ให้สูญหาย หรือเสียหายเช่นรับจำนำแหวนเพชรก็ต้องเก็บในที่มั่นคง ถ้าประมาทเลินเล่อวางไว้ไม่เป็นทางการคนร้ายลักไป อาจจะต้องรับผิดได้
         2. ไม่เอาทรัพย์ที่จำนำออกใช้เอง หรือให้บุคคลภายนอกใช้สอย หรือเก็บรักษามิฉะนั้นถ้าเกิดความเสียหายใดๆ ขึ้นก็ต้องรับผิดชอบเช่น เอาแหวนที่จำนำสวมใส่ไปเที่ยวถูกคนร้ายจี้เอาไปก็ต้องใช้ราคาให้เขา
         3. ทรัพย์สินจำนำบางอย่าง ต้องเสียค่าจ่ายในการบำรุงรักษา เช่น จำนำสุนัขพันธ์ดีโคกระบือหรือม้าแข่ง อาจจะต้องเสียค่าหญ้า  อาคารและยารักษาโรคผู้จำนำต้องชดใช้แก่ผู้รับจำนำมิฉะนั้นผู้รับจำนำก็มีสิทธิยึดหน่วงทรัพย์ที่จำนำไว้ก่อนไม่ยอมคืนให้จนกว่าจะได้ชำระหนี้ครบถ้วน
 
การบังคับจำนำ :
          เมื่อหนี้ถึงกำหนดลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ ผู้รับจำนำก็มีสิทธิบังคับจำนำได้คือ
               1. เอาทรัพย์สินที่จำนำออกขายทอดตลาดคือกระทำได้เองไม่ต้องขออำนาจซึ่งตามตามธรรมดาก็ให้บุคคลซึ่งมีอาชีพทางดำเนินธุรกิจขายทอดตลาดผู้รับจำนำจะต้องบอกกล่าวเป็นหนังสือไปยังลูกหนี้ก่อนให้ชำระหนี้และหนี้ที่เกี่ยวข้องกันเช่น ดอกเบี้ย ค่ารักษาทรัพย์ที่จำนำ เป็นต้น ภายในเวลาอันควร
               2. ถ้าผู้รับจำนำจะไม่บังคับตามวิธีที่ 1 เมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้เพื่อไถ่ถอนทรัพย์ที่จำนำคืนไปเจ้าหนี้ผู้รับจำนำจะยื่นฟ้องต่อศาลให้ขายทอดตลาดทรัพย์ที่จำนำก็ย่อมทำได้ไม่มีอะไรห้าม
ข้อสังเกต
               1. เงินที่ได้จากการขายทอดตลาดต้องนำมาชำระหนี้พร้อมด้วยอุปกรณ์ คือค่าใช้จ่ายต่างๆถ้ามีเงินเหลือก็คืนให้แก่ผู้จำนำไป เพราะว่าเป็นเจ้าของทรัพย์ ถ้าเจ้าหนี้หลายคนผู้รับจำนำก็มีสิทธิได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้อื่น
               2. เมื่อถึงกำหนดชำระหนี้แล้วคู่สัญญาจะตกลงกันให้ทรัพย์สินที่จำนำตกเป็นของผู้รับจำนำก็ย่อมทำได้ถือว่าเป็นการชำระหนี้ด้วยของคนอื่นแต่จะตกลงกันเช่นนี้ในขณะทำสัญญาจำนำหรือก่อนหนี้ถึงกำหนดหาได้ไม่
 
ลักษณะของสัญญาจำนำ
มาตรา ๗๔๗ บัญญัติ อันว่าจำนำนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่าผู้จำนำ ส่งมอบสังหาริมทรัพย์สิ่งหนึ่งให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่าผู้รับจำนำเพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ จากบทบัญญัติดังกล่าวแสดงว่าจำนำมีลักษณะ คือ
๑.ทรัพย์สินที่จำนำต้องเป็นสังหาริมทรัพย์ เนื่องจากกฎหมายใช้คำว่า ส่งมอบสังหาริมทรัพย์สิ่งหนึ่ง ดังนั้นทรัพย์สินที่จำนำได้จะต้องเป็นสังหาริมทรัพย์เท่านั้น อะไรเป็นสังหาริมทรัพย์ต้องพิจารณาตามมาตรา ๑๔๐ ถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์จะเอามาจำนำไม่ได้ สำหรับ สังหาริมทรัพย์บางประเภท เช่น ช้าง ม้า โค กระบือ จำนำได้โดยไม่ต้องมีตั๋วรูปพรรณ ถ้าสัตว์พาหนะดังกล่าวมีตั๋วรูปพรรณแล้ว หรือเครื่องจักรที่ได้จดทะเบียน กรรมสิทธ์ตามพระราชบัญญัติจดทะเบียนเครื่องจักรแล้วสามารถนำมาจำนำได้ และจำนองได้ด้วย
คำพิพากษาฎีกาที่ ๒๖๔๓/๒๕๓๑ ทรัพย์สินที่จำนำได้ต้องเป็นสังหาริมทรัพย์สิทธิการเช่าอาคารพาณิชย์และแผงซึ่งเป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ไม่ใช่สังหาริมทรัพย์ตามมาตรา ๑๐๐ (เดิม) จึงไม่อาจจำนำได้ (ปัจจุบัน สิทธิการเช่าสามารถจำนำได้ตามมาตรา ๑๔๐)
คำว่า สังหาริมทรัพย์สิ่งหนึ่ง ตามมาตรา ๗๔๗ นี้ ไม่ ได้หมายว่าสัญญาจำนำสัญญาหนึ่งหรือการจำนำประกันหนี้อย่างหนึ่งจะใช้ ทรัพย์สินที่จำนำได้เพียงสิ่งเดียวอจจะจำนำสังหาริมทรัพย์หลายสิ่งหรือหลาย ชิ้นเพียงจำนวนเดียวก็ได้
๒.ต้องส่งมอบทรัพย์สินที่จำนำแก่ผู้รับจำนำเพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ จำนำเป็นสัญญาที่เกิดขึ้นโดยการแสดงเจตนาของบุคคล ๒ ฝ่าย คือ ผู้จำนำนำ และ ผู้รับจำนำกฎหมายไม่ได้บังคับว่าจะต้องทำเป็นหนังสือต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือจึงจะฟ้องร้องได้ ดังนั้น การจำนำจะต้องตกลงเป็นหนังสือหรือด้วยวาจาก็ได้ ข้อสำคัญจะต้องมีการส่งมอบทรัพย์สินที่จำนำให้แกผู้รับจำนำ และการส่งมอบนั้นกระทำโดยเจตนาเพื่อเป็นประกันการชำระหนี้
คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๔๕๑/๒๕๐๓ การจำนำไม่มีกฎหมายบังคับว่าจะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ
คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๗๒๙/๒๕๑๒ สัญญาจำนำไม่จำต้องทำเป็นหนังสือดังนั้นลูกหนี้ย่อมนำสืบพยานบุคคลได้ว่า ได้มีการมอบใบหุ้นให้แก่เจ้าหนี้ยึดถือไว้เป็นการจำนำ
คำพิพากษาฎีกาที่ ๒๑๗๘/๒๕๑๘ โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเอาเช็คมาแลกเงินสดไปจากโจทก์และมอบใบหุ้นให้โจทก์ถือไว้ เมื่อไม่มีข้อความว่าเป็นการยึดถือเพื่อเป็นการประกันการชำระหนี้ กรณีไม่เป็นการจำนำ
คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๘๑๔/๒๕๒๖ จำเลย เป็นหนี้ค่าซื้อวัสดุก่อสร้างไปจากผู้ร้องจำเลยจึงทำหนังสือรับสภาพหนี้ไว้ แก่ผู้ร้องและนำรถยนต์มามอบให้ผู้ร้องเพื่อประกันการชำระหนี้ ถือได้ว่าเป็นการจำนำตามมาตรา ๗๔๗ ผู้ ร้องจึงมีสิทธิได้รับชำระหนี้จากเงินได้จากการขายทอดตลาดรถคันดังกล่าวก่อน ที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาผู้นำยึดรถคันนั้นมาขายทอดตลาด
สัญญาจำนำผู้จำนำจะต้องส่งมอบสังหาริมทรัพย์ที่จำนำให้แก่ผู้รับจำนำ ดังนั้น ทรัพย์ที่จำนำจะต้องหลุดพ้นจากการครอบครองของผู้จำนำ ถ้าคู่สัญญาตกลงกันว่าจะส่งมอบทรัพย์ที่จำนำ แต่ไม่มีการส่งมอบกันจริง ไม่เป็นการจำนำ เช่น
คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๗๓/๒๔๗๕ จำเลยเป็นหนี้ธนาคารผู้ร้อง จึง ได้ทำสัญญามอบไม้สักและไม้ซุงในโรงเรื่อยของจำเลยให้ธนาคารผู้ร้องเป็น ประกันหนี้ดังกล่าวธนาคารผู้ร้องเอาตราของธนาคารไปประทับไว้บนไม้และทำ หนังสือมอบให้คนดูแลโรงเลื่อยของจำเลยเป็นผู้ดูแลไม้สักและไม้ซุงดังกล่าว ด้วย โดยมีข้อตกลงว่าจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของไม้มีสิทธิเอาไม้ไปเลื่อยขายได้ แต่ต้องขออนุญาตธนาคารผู้ร้องและต้องหาไม้มาใช้แทนศาลฎีกาวินิจฉัยว่า พฤติการณ์ดังกล่าวไม่พอถือว่าไม้อยู่ในครอบครองของธนาคารผู้ร้องหรือบุคคลภายนอก เพราะจำเลยจะนำไม้ไปเลื่อย หรือขายก็ได้ ดังนั้น ธนาคารผู้ร้องจะอ้างว่าเป็นการจำนำไม่ได้
คำพิพากษาฎีกาที่ ๔๙๐/๒๕๐๒ โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานโกงเจ้าหนี้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๔๙ ข้อเท็จจริงได้ความว่า จำเลยกู้เงินโจทก์มีข้อตกลงว่า จำเลยจะนำโคมาจำนำ แต่เมื่อทำสัญญากู้แล้วโจทก์ยินยอม ให้โคนั้นกลับสู่ความครอบครองของจำเลย ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า จำเลยหาได้มอบโคไว้เป็นการประกันชำระหนี้ตามความหมายของกฎหมายลักษณะจำนำ จึงขาดองค์ประกอบความผิดตามกฎหมายอาญา มาตรา ๓๔๙ จำเลยไม่มีความผิด
คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๔๔๑/๒๕๐๕ โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลย โจทก์จำเลยตกลงว่า โจทก์ยอมให้รถยนต์ของโจทก์เป็นประกันหนี้เงินที่โจทก์รับไปจากจำเลยแต่ให้รถยนต์อยู่กับโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของอีกต่อไป ต่อมาโจทก์ไม่ชำระหนี้ จำเลยซึ่งเป็นเจ้าหนี้ไปยึดรถคันนั้นโดยพลการ โดยอ้างว่าโจทก์ได้จำนำรถไว้กับจำเลย โจทก์จึงฟ้องว่าจำเลยละเมิดศาลฎีกาวินิจฉัยว่า พฤติกรรมดังกล่าวไม่ถือว่าเป็นการจำนำ จำเลยซึ่งเป็นเจ้าหนี้ไม่มีอำนาจยึดถือรถในฐานะผู้รับจำนำและไม่มีสิทธิ์ไปยืดรถชองโจทก์ เมื่อจำเลยไปยืดรถมาจากโจทก์ การกระทำของจำเลย การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาฎีกาที่ ๔๒๗๘/๒๕๓๔ จำเลยกู้เงินโจทก์แล้วทำหนังสือสัญญาจำนำจักรเย็บผ้ากับโจทก์ แต่ไม่ได้ส่งมอบจักรเย็บผ้าให้โจทก์ไว้ ถือไม่ได้ว่าเป็นการจำนำตามมาตรา ๗๔๗ โจทก์จึงไม่เป็นเจ้าหนี้มีประกัน
มีการกระทำบางอย่างซึ่งชาวบ้านอาจจะเข้าใจว่าเป็นการจำนำ เช่น ลูกหนี้หรือผู้ค้ำประกันมอบโฉนดให้เจ้าหนี้ยึดถือไว้ กรณีนี้ไม่เป็นการจำนำ เช่น
คำพิพากษาฎีกาที่ ๕๔๕/๒๕๐๕, ๑๖๑๒/๒๕๑๒ วินิจฉัยเหมือนกันว่าเพียงแต่เอาโฉนดที่ดินให้ผู้ให้กู้ยึดถือไว้ตามสัญญากู้ ไม่ใช่หนี้มีประกันตามกฎหมาย
คำพิพากษาฎีกาที่ ๒๒๙/๒๕๒๒ การที่โจทก์กู้เงินแล้วมอบโฉนดให้จำเลยยึดถือไว้เป็นประกันเงินกู้ ไม่เข้าลักษณะจำนำ กรณีไม่ต้องตามมาตรา ๑๘๙ เมื่อหนี้เงินกู้ขาดอายุความ จำเลยไม่มีสิทธิยึดหน่วงโฉนดของโจทก์ไว้ ต้องคืนให้โจทก์
ในกรณีที่ลูกหนี้ไปกู้เงินเจ้าหนี้แล้วมอบโฉนดให้เจ้าหนี้ยึดถือไว้เป็นประกันไม่เป็นจำนองเพราะไม่ได้ไปจดทะเบียนจำนอง และไม่เป็นจำนำเพราะเจ้าหนี้ไม่มีเจตนาที่จะบังคับจำนำเอาแผ่นกระดาษโฉนดไปขาดทอดตลาด การเขียนสัญญาว่าลูกหนี้กู้เงินเจ้าหนี้แล้วมอบโฉนดให้เจ้าหนี้ยึดถือไว้เป็นประกัน ตามปกติเจ้าหนี้มีสิทธิยึดโฉนดแผ่นนั้นไว้เป็นหลักประกัน คือเป็นเครื่องมือที่จะบีบให้ลูกหนี้ชำระหนี้ ถ้าลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ก็ไม่ต้องคืนโฉนด ลูกหนี้จะไปดำเนินการจดทะเบียนเกี่ยวกับที่ดินไม่ได้ แต่ถ้าหนี้นั้นขาดอายุความหรือหนี้กู้ยืมนั้นไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือลง ลายมือชื่อผู้กู้ลูกหนี้ผู้เป็นเจ้าของโฉนดมีสิทธิที่จะฟ้องเรียกโฉนดคืนได้ เจ้าหนี้ไม่มีสิทธิยึดโฉนดของลูกหนี้อีกต่อไป
การประกันตัวจำเลยหรือผู้ต้องหาที่ทำประกันต่อศาล หรือในคดีแพ่งเมื่อจำเลยอุทธรณ์แล้วยืนคำขอทุเลาการบังคับ ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ทุเลาการบังคับและให้ทำสัญญาประกัน นายประกันหรือตัวความก็อาจเอาที่ดินมาเป็นหลักประกันโดยมอบโฉนดให้ศาลยึดไว้เป็นประกัน การมอบโฉนดและทำสัญญาประกันกรณีนี้ไม่เป็นสัญญาจำนองเพราะไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ และไม่เป็นจำนำเพราะที่ศาลยึดโฉนดไว้นั้นไม่ได้ยึดไว้โดยเจตนาว่า เมื่อผู้ประกันผิดนัดศาลจะเอาโฉนดแผ่นนั้นออกขายทอดตลาด การที่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาขอทุเลาการบังคับแล้วนำโฉนดที่ดินมาวางเป็นประกัน ไม่ทำให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเป็นเจ้าหนี้ที่มีหลักประกัน ถ้ามีการผิดสัญญาศาลมีสิทธิที่จะเอาที่ดินตามโฉนดนั้นไปขายทอดตลาด
คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๖๗๓/๒๕๑๑ การที่จำเลยนำโฉนดที่ดินมาวางเป็นประกันในการขอทุเลาบังคับนั้น ไม่ก่อให้เกิดบุริมสิทธิแก่โจทก์แต่ประการใด และถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นเจ้าหนี้มีประกันตามมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย
๓. หนี้ตามสัญญาจำนำเป็นหนี้อุปกรณ์ สัญญาจำนำทำขึ้นมาเพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ประธาน ดังนั้นจะต้องมีหนี้ประธานระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้ หนี้ประธานนี้จะมีมูลหนี้มาจากสัญญาหรือละเมิดก็ได้ หนี้ประธานอาจเกิดขึ้นพร้อมกับสัญญาจำนำก็ได้แม้จำนำจะไม่มีบทบัญญัติทำนองเดียวกับมาตรา ๖๘๑ ในเรื่องค้ำประกัน และมาตรา ๗๐๗ ในเรื่องจำนอง แต่เมื่อจำนำทำขึ้นมาเพื่อประกันการชำระหนี้ของหนี้ประธาน ดังนั้นหนี้ประธานจะต้องสมบูรณ์ด้วย จึงจะมีความรับผิดตามสัญญาจำนำ ถ้าหนี้ประธานไม่สมบูรณ์ เช่น จำนำแหวนเพชรเพื่อประกันหนี้กู้ยืมเงิน แต่ปรากฏว่าไม่มีการส่งมอบเงินที่กู้ หนี้กู้ยืมเงินไม่สมบูรณ์ ผู้จำนำไม่ต้องรับผิดตามสัญญาจำนำ หรือในกรณีที่จำนำเป็นประกันหนี้กู้ยืมที่ผู้กู้ยืมและผู้ให้กู้รู้ดีว่าเป็นการกู้ยืมไปลงทุนค้าเฮโรอีน กรณีนี้วัตถุประสงค์ของสัญญากู้ยืมขัดต่อกฎหมาย สัญญากู้ยืมเป็นโมฆะ สัญญาจำนำเพื่อประกันหนี้ดังกล่าวก็ใช้บังคับไม่ได้
คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๕๖๐/๒๕๒๗ บริษัทโจทก์ออกเงินทดรองให้จำเลยซื้อหุ้นของบริษัทโจทก์โดยยึดใบหุ้นนั้นเป็นประกันหนี้ที่ออกเงินทดรองไป ถือว่าโจทก์ให้จำเลยกู้ยืมเงินไปซื้อหุ้นของบริษัทโจทก์และบริษัทโจทก์รับจำนำหุ้นของตนเป็นประกันเงินที่จ่ายทดรองไป เป็นการฝ่าฝืนมาตรา ๑๑๔๓ โจทก์จึงอ้างเป็นมูลเรียกร้องให้จำเลยชดใช้คืนไม่ได้
ตามมาตรา ๗๔๗ ไม่ได้บัญญัติว่าผู้จำนำจะต้องเป็นบุคคลภายนอก ดังนั้นผู้จำนำอาจจะเป็นลูกหนี้เองหรือหรือบุคคลภายนอกที่นำทรัพย์สินของตนมาจำนำประกันหนี้ของลูกหนี้ก็ได้ ในลักษณะนี้จำนำจึงต่างกับค้ำประกันคือ ผู้ค้ำประกันจะต้องเป็นบุคคลอื่นที่ไม่ใช้ลูกหนี้ แต่ผู้จำนำอาจจะเป็นบุคคลเดียวกันกับลูกหนี้ก็ได้
ในกรณีที่บุคคลภายนอกจำนำทรัพย์ของตนประกันหนี้ของลูกหนี้ ถ้าลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ผู้รับจำนำจะฟ้องให้ผู้จำนำชำระหนี้ไม่ได้ จะทำได้เพียงบังคับจำนำเอาจากทรัพย์สินที่จำนำเท่านั้น
๔. ผู้จำนำต้องเป็นเจ้าของทรัพย์สินที่จำนำ แม้กฎหมายไม่ได้บัญญัติไว้อย่างชัดแจ้ง แต่เมื่อมีการบังคับจำนำผู้รับจำนำมีสิทธิที่จะเอาทรัพย์สินที่จำนำออกขายทอดตลอดได้ ซึ่งมีผลให้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่จำนำตกเป็นของผู้ซื้อ ดังนั้น ผู้จำนำจะต้องเป็นเจ้าของทรัพย์ที่นำมาจำนำ ถ้าผู้จำนำไม่ใช่เจ้าของ แต่เอาทรัพย์สิน นั้นไม่ใช่เจ้าของ แต่เอาทรัพย์นั้นไปจำนำในกรณีนี้ผู้เป็นเจ้าของที่แท้จริงมีสิทธิ ตามมาตรา ๑๓๓๖ ที่จะติดตามเอาทรัพย์สินที่จำนำคืนได้โดยไม่จำเป็นต้องไถ่ถอน เช่น
คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๑๑๕/๒๔๗๗ จำเลยที่ ๑ เช่าตู้เย็นโจทก์ไปใช้ในร้านค้าของจำเลยที่ ๑ แล้วนำตู้เย็นนั้นไปจำนำไว้แก่จำเลยที่ ๒ ที่ ๓ ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า จำเลยที่ ๑ เป็นผู้เช่า ไม่มีอำนาจประการใดที่จะเอาตู้เย็นของโจทก์ไปจำนำ สัญญาจำนำเลยไม่ผูกมัดโจทก์ โจทก์มีสิทธิติดตามเอาทรัพย์ของตนคืนได้ตามมาตรา ๑๓๓๖
คำพิพากษาฎีกา ๔๔๙/๒๔๑๙จำเลยที่ ๑ ขายรถยนต์ให้โจทก์แล้วเช่าซื้อรถยนต์ไปจากโจทก์ โดยจำเลยที่ ๒ เป็นผู้ค้ำประกัน ขณะที่ยังชำระค่าเช่าซื้อไม่ครบ จำเลยที่ ๑ นำรถยนต์ไปให้จำเลยที่ ๓ ยึดไว้เป็นประกันหนี้ค่าเครื่องปรับอากาศโดยโจทก์มิได้รู้เห็นยินยอม จำเลยที่ ๑ ไม่ชำระค่าเช่าซื้อจนโจทก์ บอกเลิกสัญญาแล้วดังนี้ แม้จำเลยที่ ๓ จะเชื่อโดยสุจริตว่ารถยนต์เป็นของจำเลยที่ ๑ เป็นตัวแทนโจทก์เป็นเจ้าของย่อยมีสิทธิตามเอารถยนต์คืนได้ตาม มาตรา ๑๓๓๖
ในกรณีที่เจ้าของทรัพย์สินทำให้ผู้รับจำนำเข้าใจผิดว่าผู้จำนำเป็นของทรัพย์นั้น เจ้าของทรัพย์จะติดตามเอาทรัพย์นั้นคืนโดยไม่ไถ่จำนำไม่ได้
คำพิพากษาฎีกาที่ ๖๓๑/๒๕๐๓ โจทก์รถจักรยานยนต์ ๓๑ คัน ไปฝากห้า ก. ขาย ผู้การห้าง ก. นำรถจักรยานยนต์ดังกล่าวไปจำนำไว้กับจำเลย ๖ คัน โจทก์ฟ้องเรียกรถจักรยานยนต์ทั้ง ๖ คัน คืนจากจำเลย จำเลยให้การว่ารับจำนำ โดยสุจริตศาลฎีกาวินิจฉัยว่า รถจักรยานยนต์เป็นสังหาริมทรัพย์ เมื่อโจทก์นำไปฝากห้าง ก. ขายโดยให้ห้าง ก. แสดงออกเหมือนหนึ่งเป็นสินค้าของห้าง ก. จนจำเลยซึ่งเป็นคนภายนอกรับจำนำโดยสุจริตเช่นนี้ โจทก์จะเอาคืนโดยไม่ไถ่ถอนหาได้ไม่
คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๖๐๑/๒๕๑๒ โจทก์มอบรถจักรยานยนต์ของโจทก์พร้อมทะเบียนรถยนต์และโอนที่ลงลายมือซื่อโจทก์ในช่องผู้โอนให้ ส. เพื่อเอารถไปขายให้ผู้อื่น แต่ ส. ไม่ได้นำรถยนต์ไปขายกลับเอาไปจำนำไว้จำเลย จำเลยรับจำนำไว้โดยสุจริต ปัญหาว่าโจทก์มีสิทธิเอารถคันนั้นคืนโดยไม่ต้องไถ่จำนำหรือไม่ ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า การกระทำของโจทก์ถือได้ว่าเป็นการเชิด ส. ให้เป็นตัวแทนของโจทก์ ฉะนั้น โจทก์จะติดตามเอาคืนโดยไม่ไถ่ถอนจำนำก่อนหาได้ไม่ จำเลยมีสิทธิยึดรถไว้จนกว่าจะได้รับชำระหนี้จนครบถ้วน
ปฏิทินกิจกรรม
เมษายน 2567
อา พฤ
31 1 2 3 4 5 6
7 8 9 10 11 12 13
14 15 16 17 18 19 20
21 22 23 24 25 26 27
28 29 30 1 2 3 4
5 6 7 8 9 10 11
วันที่ 20 เมษายน 2567
โครงสร้างการบริหาร
โรงแรม/ที่พัก
เว็บไซต์ท้องถิ่นไทย
แบบสำรวจความคิดเห็น
คุณมีความคิดเห็นอย่างไรเกี่ยวกับเว็บไซต์ใหม่ของ อบต.
ดีมาก
ดี
ปานกลาง
น้อย
น้อยที่สุด
เว็บไซต์บริการ
ความรู้เกี่ยวกับ อบต.
การให้บริการ
กฎหมายน่ารู้
แบบสอบถาม
สถิติผู้เข้าชมเว็บไซต์
ออนไลน์ทั้งหมด 3 คน
หมายเลข IP 3.145.119.199
คุณเข้าชมลำดับที่ 2,121,061

ขอเครดิตฟรีหน่อยครับสมัครปุ๊บรับปั๊บไม่ต้องฝาก สล็อตออนไลน์ เครดิตโบนัสได้เงินจริง slot938 สล็อต สล็อตออนไลน์ thaicasinobin แจกเครดิตฟรี สล็อต บาคาร่า คาสิโนออนไลน์ JQK41 สล็อต เครดิตฟรี ไทยคาสิโนออนไลน์ thaibet55 kubet ไทยคาสิโนออนไลน์ แทงบอล ซอคเกอร์ลีก คะแนนฟุตบอล เว็บพนันอันดับ1 HUC99 เว็บตรง ไม่ผ่านเอเย่นต์
 
องค์การบริหารส่วนตำบลชุมแสง
ตำบลชุมแสง อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ 31150
Tel : 0-4460-5096   Fax : 0-4460-5096
Copyright © 2020 by OPSTECH All Right Reserved.